การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลจะทำได้ดังนี้
- การขอประกันตัวระหว่างชั้นฝากขังทำได้เมื่อผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานอัยการนำตัวมาขออนุญาตศาลฝากขังระหว่างที่ยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นขอประกันตัวต่อศาล
- การขอประกันตัวชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นทำได้เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแล้วก็จะเปลี่ยนฐานะจากผู้ต้องหาเป็นจำเลย จำเลยมีสิทธิขอประกันตัวต่อศาลได้ ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว จำเลยจะยื่นขอประกันตัวก่อนวันนัดหรือในวันนัดที่ระบุในหมายเรียกให้มาแก้คดีก็ได้
- การขอประกันตัวชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อมีกรณีที่จำเลยถูกขังหรือจำคุก โดยผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค จำเลยอาจยื่นขอประกันตัวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์ หรือยื่นฎีกา หรือจะยื่นขอประกันตัวพร้อมกันหรือาหลังจากยื่นอุทธรณ์ หรือยื่นฎีกาก็ได้ การขอประกันตัวดังกล่าวให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ที่พิพากษาคดี หรืออาจยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ การประกันตัวในชั้นใดก็จะใช้ได้ในชั้นนั้น เมื่อชั้นของการของประกันตัวเปลี่ยนไปก็ต้องยื่นขอประกันตัวใหม่
การยื่นคำร้องขอประกันตัว
ผู้ขอประกันจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
ในการติดต่อขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ผู้ขอประกันจะต้องยื่นคำร้องขอประกันตัว พร้อมด้วยเอกสารและหลักประกันประกอบคำร้องดังกล่าว โดยนำต้นฉบับเอกสารพร้อมสำเนามายื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป ซึ่งเอกสารในการประกอบคำร้องขอประกันตัวมีดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ทะเบียนบ้าน
- กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรสจะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
- บัตรประกันตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรรัฐและทะเบียนบ้านของคู่สมรส
- ใบสำคัญสมรส
- หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
- กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฎในหลักทรัพย์จะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติมได้แก่
- หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน หรือ
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
- ใบสำคัญการสมรส
- กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศ หากมีหนังสือเดินทาง (Passport) ต้องนำมาแสดงด้วย หากเอกสารที่ต้องนำมาในวันยื่นคำร้องขอประกันตัวไม่ครบถ้วน ผู้ขอประกันอาจขอผัดผ่อนต่อศาลเพื่อพิจารณาอนุญาตให้นำมาส่งในภายหลังได้
หลักประกันใดบ้างที่สามารถใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้?
- เงินสด
- หลักทรัพย์อื่น เช่น
- โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3)
- พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย (แคชเชียร์เช็ค) หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว
- สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
- หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
- หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
- ในบางกรณีอาจใช้หลักประกันต่อไปนี้ได้
- ทะเบียนรถยนต์หรือทะเบียนรถจักรยานยนต์
- ภ.บ.ท.5 ส.ค.1 น.ส.2 หรือ สปก.
- บ้านพักอาศัย
- หลักทรัพย์ที่ติดจำนองหรือมีภาระติดพัน
- บุคคลเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
- ส่วนราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา
- เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือนายความ (ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกัน เฉพาะตนเองหรือญาติใกล้ชิด) โดยสามรรถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนฯ เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ สำหรับกรณีความผิดที่ถูกกล่าวหาเกิดจาการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติงานในการประกอบวิชาชีพ โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 15 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
วิธีนำหลักประกันมาใช้ในการขอประกันตัว ผู้ขอประกันจะต้องทำอย่างไร?
- กรณีใช้โฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. ต้องมีหนังสือรับรองประเมินราคาที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือจากที่ว่าการอำเภอในเขตที่ที่ดินตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี ซึ่งออกให้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน รับรองโดยเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนหรือผู้ทำการแทน กรณีรับรองโดยสำนักงานที่ดินอำเภอ ผู้รับรองราคาประเมินจะต้องเป็นนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้ทำการแทนหรือเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ
- กรณีใช้สมุดเงินฝากธนาคารต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือปัจจุบันจากสาขาธนาคารที่เปิดบัญชี พร้อมระบุข้อความว่าธนาคารจะไม่ให้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากศาลก่อน
- กรณีใช้บุคคลตามข้อ 7.5 เป็นหลักประกัน ต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับอัตราเงินเดือน และควรระบุให้ชัดเจนว่าจะนำไปประกันใคร หากมีภาระผูกพันในการทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันผู้อื่นไว้ก็ให้แสดงภาระผูกพันนั้นด้วย
- กรณีใช้ทะเบียนรถยนต์หรือทะเบียนรถจักรยานยนต์ผู้ประกันต้องนำรถมาให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ศาลตรวจดูสภาพและประเมินราคา
- กรณีใช้ที่ดิน ภบท.5 ส.ค.1 น.ส.2 หรือ สปก. ผู้ประกันต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินจากธนาคาร เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- กรณีใช้บ้านพักอาศัย ผู้ประกันควรต้องมีภาพถ่ายบ้านและให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านมีหนังสือรับรองการประเมินราคาให้
- กรณีใช้หลักทรัพย์ที่ติดจำนองหรือมีภาระติดพันผู้ขอประกันต้องแสดงได้ว่าราคาทรัพย์ส่วนที่เกินจากจำนองหรือจากภาระติดพันมีจำนวนเพียงพอต่อการใช้เป็นหลักประกัน
- กรณีบิดามารดาเป็นผู้ขอประกันบุตร ศาลอาจให้ประกันโดยไม่ต้องแสดงหลักทรัพย์ แต่ต้องมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นบุตร
คลิก:
www.ประกันตัว.com